บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2018

การจัดการเรียนรู้แบบวรรณี

การจัดการเรียนรู้แบบวรรณี ความเป็นมา รองศาสตราจารย์วรรณี โสมประยูร แห่งคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเป็นผู้คิดสร้างวิธีสอนหรือรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักที่สำคัญเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กไทยในระดับประถมศึกษาโดยเฉพาะ ซึ่งได้ทดลองและปรับปรุงแก้ไขแล้วจึงเริ่ม แพร่หลายอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นประวัติศาสตร์การศึกษาของชนชาติไทยที่ได้มีครูไทยสร้างสรรค์รูปแบบการสอนขึ้นใช้เด็กใช้สอนเด็กไทยเป็นผลสำเร็จถือว่าเป็นนวัตกรรมภูมิปัญญาที่เป็นของคนไทย โดยครูไทยและเพื่อเด็กไทยโดยเฉพาะ สมควรได้รับการยกย่องจากวงการศึกษาไทยเป็นอย่างยิ่ง ความหมายและคุณลักษณะ การจัดการเรียนรู้แบบวรรณี เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้หรือวิธีสอนรูปแบบหนึ่งที่มีคุณลักษณะเฉพาะ ซึ่งวรรณี โสมประยูร ( 2541: 12-13) เสนอไว้ดังนี้ 1. เป็นรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่ประกอบด้วยกระบวนการสอนแบบขั้นตอนซึ่งสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ แต่ผู้สอนก็สามารถยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนได้  ขั้นตอนเหล่านี้เ

นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์              Jutatip Deelamai (2557)   ได้กล่าวถึงนวัตกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ดังนี้ ความหมายของ  “ นวัตกรรมการศึกษา"            “ นวัตกรรม ” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย            “ นวัตกรรม ” (Innovation)  มีรากศัพท์มาจาก  innovare  ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมาความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ  “ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ( Change)  ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส ( Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ”            “ นวัตกรรมทางการศึกษา ” (Educational Innovation)