ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment)

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment)

บุญเลี้ยง ทุมทอง (2554:23) ได้รวบรวมทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment) ว่า ทฤษฎีนี้มีประโยชน์ต่อการศึกษา การจัดการศึกษาให้กับเด็กมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ และสิ่งที่มีความหมายมากคือ แนวคิดที่ว่าเด็กที่มีอายุน้อยๆ จะเรียนรู้ได้ดีที่สุด จากกิจกรรมการใช้สื่อรูปธรรม (Ginsburj & Opper , 1969)หากแนวคิดนี้ถูกนำไปใช้ในห้องเรียนและแนะนำผู้เรียนมากกว่าเป็นผู้สอน โดยตรงตามทฤษฎีของเพียเจต์ (Piaget'sTheoryofIntellectual Developement)

สุริน ชุมสาย (http://surinx.blogspot.com) ได้รวบรวมทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment) ว่า ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง หากได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้ มนุษย์ก็จะสามารถพัฒนาตนเองไปตามธรรมชาติ รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก รุสโซเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญเด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ คือการเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน 
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment) 

สยุมพร จุ๋ม ศรีมุงคุณ  ( https://www.gotoknow.org/posts/341272) ได้รวบรวมทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติไว้ว่า คิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก  เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ  เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น                                          
การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน  ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก

สรุป
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment) เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การเล่นจึงเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก ดังนั้น การจัดการศึกษาให้กับเด็กจึงต้องมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ และสิ่งที่มีความหมายมากคือ แนวคิดที่ว่าเด็กที่มีอายุน้อยๆ จะเรียนรู้ได้ดีที่สุด จากกิจกรรมการใช้สื่อที่รูปธรรม 
                                   

ที่มา
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2554). การวิจัยการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์. มหาสารคาม:โรงพิมพ์สหบัณฑิต.
สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา.  (http://surinx.blogspot.com/2010/08/2550-40-107-3-1-2-3-20-3-20-4-2550-45.html).
ทฤษฎีและแนวในการจัดการเรียนรู้. [ออนไลน์เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2561.
สยุมพร จุ๋ม ศรีมุงคุณ. ( https://www.gotoknow.org/posts/341272).ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ20 กรกฎาคม  2561.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructionism)

การจัดการเรียนรู้แบบวรรณี

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)