ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)

ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)

ทิศนา แขมมณี (2553: 85-89)  ได้กล่าวถึงทฤษฎีพหุปัญญาไว้ดังนี้
ผู้บุกเบิกทฤษฎีนี้คือ การ์ดเนอร์ (Gardner)  จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ในปี ค.ศ. 1983  เขาได้เขียนหนังสือชื่อ “Frames of Mind : The Theory of Multiple Intelligences” ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง แนวคิดของเขาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเกี่ยวกับ “เชาวน์ปัญญา” เป็นอย่างมาก และกลายเป็นทฤษฎีที่กำลังมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน การ์ดเนอร์ (Gardner , 1983) ให้นิยามคำว่า “เชาวน์ปัญญา” หมายถึง ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่างๆหรือสร้างสรรค์ผลงานต่างๆซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง รวมทั้งความสามารถในการตั้งปัญหาเอจะหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้ การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการคือ
                1. เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน ซึ่งเขาบอกว่า ความจริงอาจจะมีมากกว่านี้ คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่างๆไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
                2. เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
                เชาวน์ปัญญา 8 ด้าน ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ มีดังนี้
                1. เชาวน์ปัญญาด้านภาษา (linguistic intelligence)  เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนที่เรียกว่า “broca’s area” สติปัญญาด้านนี้แสดงออกทางความสามารถในการอ่าน การเขียน การพูดอภิปราย การสื่อสารกับผู้อื่น การใช้คำศัพท์ การแสดงออกของความคิด การประพันธ์ การแต่งเรื่อง เป็นต้น
                2. เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการให้เหตุผลเชิงตรรกะ (logical mathematical intelligence) ผู้ที่มีอัจฉริยภาพด้านการให้เหตุผลเชิงตรรกะ มักจะคิดโดยใช้สัญลักษณ์ มีระบบระเบียบในการคิด ชอบคิดวิเคราะห์ แยกแยะสิ่งต่างๆ ให้เหตุผล ชอบและทำคณิตศาสตร์ได้ดี
                3. สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (spatial intelligence)  เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดนสมองซีกขวา และแสดงออกทางความสามารถด้านศิลปะ การวาดภาพ การสร้างภาพ การคิดเป็นภาพ การใช้สีการสร้างสรรค์งานต่างๆ และมักจะเป็นผู้มองเห็นวิธีแก้ปัญหาในมโนภาพ
                4. เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี (musical intelligence) เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา แต่ยังไม่สามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนได้ บุคคลที่มีสติปัญญาทางด้านนี้ จะแสดงออกทางความสามารถในด้านจังหวะ การร้องเพลง การฟังเพลงและดนตรี เป็นต้น
                5. เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (bodily – kines-thetic intelligence)  เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนที่เรียนว่าคอร์เท็กซ์ โดยด้านซ้ายควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกขวา และด้านขวาควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกซ้าย สติปัญญาทางด้านนี้สังเกตได้จากความสามารถในการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น ในการเล่นกีฬา และเกมต่างๆ การใช้ภาษาท่าทาง การเต้นรำ เป็นต้น
                6. เชาวน์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น (interpersonal intelligence)  เชาวน์ปัญญาทางด้านนี้ ถูกควบคุมโดยสมองส่วนหน้า ความสามารถที่แสดงออกทางด้านนี้ เห็นได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานกับผู้อื่น การเข้าใจและเคารพผู้อื่น เป็นต้น
                7. เชาวน์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (intrapersonal intelligence)  บุคคลที่มีความสามารถในการเข้าใจตนเอง มักเป็นคนที่ชอบคิด พิจารณา ไตร่ตรอง มองคนเอง และทำความเข้าใจถึงความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเอง มักเป็นคนที่มั่นคงในความคิดความเชื่อต่างๆ จะทำอะไรมักต้องการเวลาในการคิดไตร่ตรอง และความที่จะคิดคนเดียว เป็นคน
                8. เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ (naturalist intelligence)  เชาวน์ปัญญาด้านนี้ เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การจำแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่ สิ่งต่างๆรอบตัว บุคคลที่มีความสามารถทางด้านนี้ มักเป็นผู้รักธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ ตระหนักในความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบตัว และมักจะชอบและสนใจสัตว์ เป็นต้น
          การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
การมองและเข้าใจเชาวน์ปัญญาในความหมายต่างกัน ย่อมก่อให้เกิดการกระทำที่แตกต่างกัน ทฤษฎีพหุปัญญา ได้ขยายขอบเขตของความหมายของคำว่าปัญญาออกไปอย่างกว้างขวางมากขึ้นจากเดิม ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนขยายขอบเขตไปอย่างกว้างขวางเช่นกัน แนวทางการนำทฤษฎีพหุปัญญามาใช้ในการเรียนการสอนมีหลากหลายดังนี้
1. เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนควรมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆด้าน มิใช้มุ่งพัฒนาแต่เพียงเชาวน์ปัญญาด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
2. เนื่องจากผู้เรียนมีระดับพัฒนาการในเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการในแต่ละด้านของผู้เรียน
3. เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน กานผสมผสานของความสามารถด้านต่างๆที่มีอยู่ไม่เท่ากันนี้ ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ หรือลักษณะเฉพาะของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน        

เลิศชาย ปานมุข  (http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=2874.0;wap2)  ได้กล่าวถึงทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)ไว้ว่า ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ
1.  เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น  แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย
-   เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence)
-   สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้  คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น  และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน
2.   เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม

ศิลป์ชัย  เทศนา (http://www.krujongrak.com/mi/mi_selftest1.htm.) ได้รวบรวมเกี่ยวกับทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)ไว้ดังนี้ ดร. โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์  (Howard Gardner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  ประเทศสหรัฐอเมริกา  ผู้ก่อตั้งทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)ให้คำจำกัดความของคำว่า “ปัญญา” ไว้ว่า ปัญญา คือความสามารถที่จะค้นหาและแก้ปัญหาและสร้างผลผลิตที่มีคุณค่าเป็นที่ยอมรับในสังคม
ลักษณะสำคัญของทฤษฎีพหุปัญญา
1. มนุษย์มีความสามารถทางปัญญาแบ่งออกได้อย่างน้อย 8 ด้าน
2. จากการศึกษาเรื่องสมองปัญญามีลักษณะเฉพาะด้าน
3. คนทุกคนมีสติปัญญาทั้ง 8 ด้านที่อาจจะมากน้อยแตกต่างกันไป บางคนอาจจะสูงทุกด้าน
บางคนอาจจะสูงเพียงด้าน หรือสองด้าน ส่วนด้านอื่น ๆ ปานกลาง
4. ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นถึงระดับใช้การได้ถ้ามีการฝึกฝนที่ดี มีการให้กำลังใจที่เหมาะสม ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
5. ปัญญาด้านต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ เช่นในการดำรงชีวิตประจำวันเราอาจต้องใช้ปัญญาในด้านภาษาในการพูด อ่าน เขียน ปัญญาด้านคิดคำนวณ ในการคิดเงินทอง ปัญญาด้านมนุษย์ สัมพันธ์ในการพบปะเข้าสังคมทำให้ตนเองมีความสุขด้วยการใช้ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
6. ปัญญาแต่ละด้านจะมีความสามารถในหลาย ๆ ทาง ยกตัวอย่างเช่นคนที่อ่านหนังสือไม่ออกก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีปัญญาทางภาษา แต่เขาอาจจะเป็นคนเล่าเรื่องที่เก่งหรือพูดได้น่าฟัง
ความสามารถทางปัญญาของมนุษย์ตามทฤษฎีพหุปัญญา แบ่งออกเป็น  8 ด้าน ได้แก่
1.       ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
2.       ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์  (Logical – Mathmatical Intelligence)
3.       ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual – Spatial Intelligence)
4.       ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily – Kinesthetic Intelligence)
5.       ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
6.       ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)
7.       ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
8.       ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)

สรุป
ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) ผู้บุกเบิกทฤษฎีนี้คือ การ์ดเนอร์ (Gardner)  จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ในปี ค.ศ. 1983 ให้คำจำกัดความของคำว่า “ปัญญา” ไว้ว่า ปัญญา คือความสามารถที่จะค้นหาและแก้ปัญหาและสร้างผลผลิตที่มีคุณค่าเป็นที่ยอมรับในสังคม  การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
                  1. เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน ซึ่งเขาบอกว่า ความจริงอาจจะมีมากกว่านี้ คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่างๆไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
                2. เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
           ความสามารถทางปัญญาของมนุษย์ตามทฤษฎีพหุปัญญา แบ่งออกเป็น  8 ด้าน ได้แก่
1.       ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
2.       ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์  (Logical – Mathmatical Intelligence)
3.       ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual – Spatial Intelligence)
4.       ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily – Kinesthetic Intelligence)
5.       ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
6.       ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)
7.       ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
8.       ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)
ที่มา
 ทิศนา แขมมณี.  (2553).  ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12).  กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
เลิศชาย ปานมุข. (http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=2874.0;wap2).ทฤษฎีการเรียนรู้.  [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 2กรกฎาคม 2561.
ศิลป์ชัย  เทศนา. (http://www.krujongrak.com/mi/mi_selftest1.htm). พหุปัญญา : วิถีการเรียนรู้ที่แตกต่าง. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 2กรกฎาคม 2561.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructionism)

การจัดการเรียนรู้แบบวรรณี

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)